วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปบท ที่ 2 E-business infrastructure




Definition : การกำหนดคำนิยาม 
 กำหนดคำนิยามของคำว่า technology infrastructure นั้น ต้องคำนึงถึงโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีทีมีผลต่อคุณภาพการบริการแก่ผู้ ใช้งานของระบบทั้งในแง่ของ ความเร็ว (Speed) และการตอบสนองต่อการร้องขอระบบ
     การให้บริการ E-business ให้ผ่านมาตรฐานของโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีนั้นต้องกำหนดความสามารถของ องค์กรในการแข่งขันทางธุรกิจผ่านการความแตกต่างให้กับตัวเองในตลาด

E-business infrastructure
      การรวบรวมของฮาร์ดแวร์ เช่น Server, Client PC ในองค์การรวมถึงการใช้เครือข่ายในการเชื่อมโยงฮาร์ดแวร์เหล่านี้ และการใช้งานที่ใช้ในการส่งมอบบริการให้กับผู้ใมช้งานที่อยู่ในบริษัท และยังรวมถึงคู่ค้าและลูกค้าของตนซึ่งคำว่า Infrastructure ยังรวมไปถึงสถาปัตยกรรมทางด้าน Hardware, Software และเครือข่ายที่มีอยู่ในบริษัทด้วย และท้ายที่สุดยังรวมไปถึงกระบวนการในการนำเข้าข้อมูลและเอกสารเข้าสู่ระบบ E-business ด้วย


ส่วนประกอบของโครงสร้างพื้นฐาน E-business infrastructure components


    1. E-business service applications layer ชั้นของแอปฟลิเคชั่น คือ ชั้นของโปรแกรม ต่างๆจะเป็นการใช้แอปฟลิเคชั่น โดยไม่สนใจซอฟต์แวร์
    2. System Software layer การนำโปรแกรมที่มาใช้งานให้ประสบความสำเร็จในชั้นที่ 1 เป็นเรื่อของการจัดการซอฟต์แวร์
    3. Transport or Network layer เป็นชั้นที่ใช้ในการสื่อสาร เช่น พวกโปรโตคอลต่างๆ ประสานงานกับเครื่องแม่ข่ายกับลูกข่าย
    4. storage/Physical layer เป็นชั้นที่ใช้เก็บพวกข้อมูลต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิกส์ แรม ว่าเก็บข้อมูลไว้ในส่วนไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ใช้อะไรเก็บ
    5. Content and Data layer ชั้นนี้เกี่ยวข้องกับพวก อินเตอร์เน็ต เอ็กทราเน็ต อินทราเน็ต
















Key management issues of e-business infrastructure


   1. ประเภทของ E-business ที่เกี่ยวข้องกับแฟลิเคชั่่น เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง การรักษาความปลอดภัยของการจัดซื้อ การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น
   2. ใช้เทคโนโลยีอะไรเพื่อให้ถึงเป้าหมาย เช่น e-mail เป็นต้น
   3. ทำอย่างไรเพื่อจะให้บริการต่างๆมีปะสิทธิภาพ
   4. จะนำบริการนี้ไปติดตั้งไว้ที่ไหนอย่างไร เช่นเอาไปติดตั้งที่เครื่อง server เอง หรือ ใช้บริการ 
บริษัทภายนอกองค์กร 



Internet technology 
Internet ช่วยให้การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องที่เชื่อมต่อทั่วโลก ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงเป็นระบบเขนาดใหญ่ในรูปแบบ Client / Server



Intranet applications

    อินทราเน็ตถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อรองรับการขายในด้านธุรกิจ e - commerce โดยเน้นทำงานจากฝ่ายการตลาดเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมหลักของ supply-chain management





Extranet applications

    เอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลโดยควบคุมจากภายนอกองค์กร สำหรับธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง







Firewall
 
     เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับป้องกันระบบ Network (เครือข่าย) จากการสื่อสารทั่วไปที่ถูกบุกรุก จากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในระบบ Network หรือระบบเครือข่าย การป้องกันโดยใช้ระบบ Firewall นี้จะเป็นการกำหนดกฏเกณฑ์ในการควบคุมการเข้า-ออก หรือการควบคุมการรับ-ส่งข้อมูล ในระบบเครือข่าย


Web technology

    World Wide Web,  หรือเรียกสั้นๆว่า ‘web’ คือขั้นตอนมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูล  ข้อมูลสาธารณะบนโลกอินเทอร์เน็ต โดยรูปแบบเอกสารพื้นฐานคือ HTML (Hypertext Markup Language) และเป็นการบริการหนึ่งในรูปแบบต่างๆของการให้บริการของอินเตอร์เน็ต สำหรับผู้พัฒนาเว็บ





 
Web browsers and servers

    เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่ สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) 






เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) 
     คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้บริการที่เก็บเว็บไซต์ (Server) แล้วให้ผู้ใช้ (Client) เรียกชมหน้าเว็บไซต์ได้โดยใช้โพรโทคอล HTTP ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์

browser compatibility

     การตรวจสอบเว็บไซต์สามารถรองรับกับการเข้าชมเว็บไซต์ผ่าน Browser ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ซึ่งเมื่อนักพัฒนาโปรแกรมพัฒนาเว็บไซต์ขึ้นมาแล้วต้องคำนึงถึงเว็บไซต์นั้นๆ สามารถใช้งานผ่าน browser ต่างๆ ได้หรือไม่ ซึ่งในปัจจุบนมีโปรแกรมช่วยทดสอบในเรื่องของ browser compatibility













Evolution Web 1.0, Web 2.0 to Web 3.0

     Web 1.0 จะอยู่ในช่วง ปี 1995-2000 โดยจะมี นิยามว่า Push เป็นรูปแบบ เว็บ Static Web ผู้เข้าชมสามารถอ่านได้อย่างเดียว ( Read-only ) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถที่สามารถแก้ไขข้อมูล หน้าตาของเว็บไซต์ได้เฉพาะผู้ดูแลเว็บไซต์ ( Web master )
     Web 2.0 จะอยู่ในช่วง ปี 2000-2007 โดยจะมี นิยามว่า Share เริ่มเป็นรูปแบบ ไดนามิก Web คือ ผู้เข้าชมสามารถอ่านและเขียนได้ ( Read-Write ) เป็นเทคโนโเว็บไซต์ที่พัฒนาต่อจาก web 1.0 เป็นเทคโนโลยีเว็บไซต์ที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้
     Web 3.0 จะอยู่ในช่วง ปี 2000-2015 โดยจะมี นิยามว่า Live เป็นการนำแนวคิดของ Web 2.0 มาทำให้ Web นั้นสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Metadata ที่หมายถึงข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล (Data about data) ทำให้เว็บกลายเป็น Semantic Web คือ ตัว Web จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น แล้วให้ Tags ตามความเหมาะสมให้เราแทน โดยข้อมูลแต่ละ Tag จะมีความสัมพันธ์กับอีก Tag หนึ่งโดยปริยาย ทำให้อินเตอร์เน็ตกลายเป็นฐานข้อมูล ความรู้ขนาดใหญ่ ที่ข้อมูลทุกอย่างถูกเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบมากขึ้น











เว็บ 3.0 ที่ได้รับการพัฒนา จะประกอบด้วย

1.AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ เป็นการสร้างความฉลาดให้ระบบคอมพิวเอตร์
ทำให้สามารถคาดเดาพฤติกรรม และวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้งานเว็บไซต์ ช่วยในการค้น
หาข้อมูลซึ่งมีจำนวนมากเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด

2.semantic web คือ การรวมของฐานข้อมูลแบบอัตโนมันติโดยใช้การคาดเดาและหลักทาง
คณิตศาสตร์เข้ามาช่วย ซึ่งผลลัพธ์ของ Application ที่สร้างขึ้นบน Semantic Web จะถูกส่งไป
ยังอินเทอร์เน็ต และส่งต่อไปยัง Web Browser โดยเว็บเบราว์เซอร์อาจจะถูกฝังตัวอยู่ในอุปกรณ์
ต่างๆ ซึ่งอุปกรณ์ที่ถูกฝังเว็บเบราว์เซอร์ไว้ในตัวนั้นส่วนใหญ่จะสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้

3.Automated reasoning การเขียนโปรแกรมให้ระบบคอมพิวเตอร์รู้จักการแก้ปัญหาเองมีการ
ประมวลผลได้อย่างสามเหตุสมผลพร้อมทั้งแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าเองได้โดยอัตโนมัติ จะ
สามารถคาดเดาผู้ใช้งานได้ว่ากำลังค้นหาหรือคิดอะไรอยู่เป็นการผสามผสาน Application หรือ
โปรแกรม หรือ บริการต่างๆ ของเว็บที่มาจากแหล่งต่างๆเข้าไว้ด้วยกันเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้งาน

4.semantic wiki เป็นการอธิบายคำๆ หนึ่งคล้ายกับดิกชันนารีดังนั้นทำให้เราสามารถหาความ
หมายหรือข้อมูลต่างๆ ได้ละเอียดและแม่นยำมากขึ้น

5.ontology language หรือ OWL เป็นภาษาที่ใช้ในการอธิบายสิ่งต่างๆ ให้มีความสัมพันธ์กันโดย
ดูจากความหมายของสิ่งนั้นๆ ซึ่งก็จะเชื่อมโยงกับระบบ Metadata คือ ภาษาที่ใช้เป็นตัวอธิบาย
ข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Data about Data) หรือ "ข้อมูลที่ใช้อธิบายความหมายของข้อมูล" หรือ Tags
นั่นเอง



Blog

     คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์  โดยเนื้อหาเป็นเรื่องใดก็ได้ ซึ่งข้อมูลประกอบด้วยข้อความ, รูป และลิงค์
จุดเด่นของ Blog
      เป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านที่    เป็นกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนมีความสะดวกและง่ายในการเขียน Blog ทำให้สามารถเผยแพร่ความคิดเห็นของผู้เขียน blog ได้ง่ายขึ้นComment จากผู้ที่สนใจเรื่องเดียวกันบางครั้งทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ
 
ข้อแตกต่างของ Blog กับเว็บประเภทอื่น
1.การใส่ข้อมูลใหม่ทำได้ง่าย
2.มี template อัตโนมัติช่วยจัดการ
3.มีการกรองเนื้อหาแยกตามวัน ประเภทผู้แต่งหรืออื่นๆ
4.ผู้ดูแลจัดการ blog สามารถเชิญ หรือ  เพิ่มผู้แต่งคนอื่น โดยจัดการเรื่องการอนุญาตและการเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย
5.เจ้าของ blog จะเป็นผู้สร้างหัวข้อสนทนาเท่านั้น
 
Internet Forum
1.ทำหน้าที่คล้าย bulletin board และ newsgroup
2.มีการรวบรวมข้อมูลทั่วๆไป เช่น เทคโนโลยี, เกม,คอมพิวเตอร์, การเมือง ฯลฯ
3.ผู้ใช้สามารถโพสหัวข้อลงไปในกระดานได้ 
4.ผู้ใช้คนอื่นๆ ก็สามารถเลือกดูหัวข้อหรือแม้กระทั่งโพส ความคิดเห็นของตนเองลงไปได้ 





Wiki

สามารถสร้างและแก้ไขหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ผ่านทางบราวเซอร์ โดยไม่ต้องสร้างเอกสาร html เหมือนแต่ก่อนWiki เน้นการทำระบบสารานุกรม, HOWTOs ที่รวมองค์ความรู้หลายๆ แขนงเข้าไว้ด้วยกันโดยเฉพาะ
   











 

Instant Messaging

             เป็นการอนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลบนเครือข่ายที่เป็นแบบ relative privacy 
ตัวอย่างเช่น Gtalk  , Skype  , Meetro , ICQ , Yahoo Messenger  , MSN Messenger และ AOL Instant Messenger  เป็นต้น





















Folksonomy(ปัจเจกวิธาน)
การจัดกลุ่มการจัดระเบียบและค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ 
1. ค้นหาในเนื้อความ  (Text Search)
2. เรียงเนื้อหาตามลำดับเวลา  (Chronological)
3. แยกตามกลุ่มประเภท  (Category, Classification)




ค้นหาในเนื้อความ (Text Search)
 
ตัวอย่างเช่น Google ที่ก่อตั้งโดย Sergery Brin และ Larry Page ได้ออกแบบเพื่อจัดอันดับความสำคัญของเว็บโดยคำนวณจากการนับ Link จากเว็บอื่นที่ชี้มาที่เว็บหนึ่ง 
  ♦ เป็นที่น่าติดตามว่าจะมีเทคนิควิธีในการค้นหาข้อมูลใหม่ ๆ
 
  ♦ ปัญหาที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต มีดังต่อไปนี้
 
  ♦ เนื้อหามีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วรายวัน
 
  ♦ การค้นหาข้อมูลที่ตรงตามความต้องการมากที่สุดทำได้ยาก เนื่องจากเนื้อหาที่มีจำนวนมาก
 
  ♦ การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านที่ขึ้นกับความสนใจของผู้ทำการค้นไม่ตรงจุดข้อมูลที่พบอาจจะขาดความ  น่าเชื่อถือ



Networking standards

       เป็นขบวนการที่เกี่ยวข้องกับทุกๆ protocol & procedure และระเบียบแบบแผนต่างๆ ที่ใช้ในระบบอินเตอร์เน็ต 




TCP/IP

        คือ ข้อตกลงในการควบคุมการรับส่งข้อมูล และ internet หรือ protocol ของระบบ internet Transmission Control Protocol/Internet Protocol


















The HTTP protocol


      HTTP มาจากคำว่า Hypertext Transfer Protocol ซึ่งเป็น protocol ที่ใช้ในการส่งเดต้าต่าง ๆ ในโลกของ World Wide Web




Uniform resource locators (URLs)

        คือ ตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) ประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับระบุแหล่งที่อยู่ของทรัพยากรที่ต้องการ และมีกลไกบางอย่างสำหรับดึงข้อมูลทรัพยากรนั้นมา
         ยูอาร์แอลอาจหมายถึง ที่อยู่บนเว็บ หรือที่อยู่อินเตอร์เน็ตก็ได้ ซึ่งปกติแล้วเรามักพิมพ์ยูอาร์แอลในแถบที่อยู่ของเว็บเบราว์เซอร์เพื่อเรียกข้อมูลจากเว็บไซต์




Domain names

         คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่สามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ
- ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
- Domain ต้องจดในชื่อของเราเท่านั้น Domain Ownership
- ถ้าเป็น Domain ของบริษัท พยายามจดภายใต้ชื่อบริษัท อย่าจดด้วยชื่อพนักงาน IT
- ข้อมูลที่สำคัญที่สุดของ Domain คือ Owner Detail
- ใช้อีเมล์ที่จะอยู่กับเราตลอดไปในการจดโดเมน ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่ใช้ติดต่อกับเราเรียกว่า    
  Registrant E-mail
- บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ Domain ของเราไว้ให้ดี วันหมดอายุ ผู้ติดต่อ และอื่น ๆ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น